เมนู

แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลาย
อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่ ตัณหาย่อมดับฉันนั้นเหมือนกัน เพราะ
ตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ.
จบอุปาทานสูตรที่ 2

อรรถกถาอุปาทานสูตรที่ 2



พึงทราบวินิจฉัยอุปาทานสูตรที่ 2 ต่อไป.
บทว่า "อุปาทานีเยสุ อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน " ได้แก่ ใน
ธรรมอันเป็นไปในภูมิ 3 อันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน 4. บทว่า
" อสฺสาทานุปสฺสิโน เห็นความพอใจเนือง ๆ " คือ เห็นอยู่เนือง ๆ
ซึ่งความพอใจ. บทว่า "ตตฺร" คือ ในกองไฟนั้น. บทว่า " ตทาหาโร
มีอาหารอย่างนั้น." คือ มีปัจจัยอย่างนั้น. .คำว่า "มีเชื้ออย่างนั้น" เป็น
ไวพจน์ของปัจจัยนั้นนั่นเอง. ในคำว่า "เอวเมว โข" นี้ ภพ 3
หรือที่เรียกว่า วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ 3 บ้าง พึงเห็นว่าเหมือนกองไฟ.
ปุถุชนผู้โง่เขลา ซึ่งอาศัยวัฏฏะคือความเวียนว่ายตายเกิด เหมือนบุรุษบำเรอ
ไฟ. การทำกรรมที่เป็นกุศลและอกุศลทางทวาร 6 ด้วยอำนาจตัณหา
เป็นต้น ของปุถุชนผู้เห็นความพอใจเนือง ๆ เหมือนการใส่โคมัยแห้งเป็น
ต้น. ความบังเกิดแห่งวัฏฏะทุกข์ในภพต่อๆไป เพราะปุถุชนผู้โง่เขลาลุกขึ้น
แล้วลุกขึ้นเล่า พยายามทำกรรมตามที่กล่าวแล้ว เหมือนเมื่อหญ้าและโคมัย
เป็นต้นหมดแล้ว กองไฟก็ยังลุกโพลงอยู่เรื่อยไป เพราะใส่หญ้าและโคมัย
เหล่านั้นเข้าไปบ่อย ๆ. ข้อว่า "น กาเลน กาลํ สุกฺขานิ เจว ติณานิ